“บันทึกจอมทัพ พระเจ้าตากสินมหาราช”

3477

คิดใหญ่ ใจกบฏ

โทษนั้นสำคัญนัก!

ประวัติศาสตร์ย่อมมีข้อขัดแย้ง แต่การบันทึกเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ต้องค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อนำมาอ้างอิง แต่ถึงอย่างไร? เราก็ควรให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับบันทึกเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ซึ่งปัจจุบันมีหนังสือมากมายหลากหลายเล่มที่เขียนบันทึกในอดีตของประวัติศาสตร์ให้เราได้ศึกษา แต่เท่าที่อ่านหนังสือแนวประวัติศาสตร์มีเพียงเล่มหนึ่งที่น่าติดตาม ค้นหา จากหนังสือประชุมพงศาวดารภาคที่ 6 โดย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า นอกจากเฉลิมพระนาม สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แล้ว หนังสือเก่าเรียกพระองค์ว่า “ขุนหลวงตาก” บ้างเรียก “เจ้ากรุงธนบุรี” และ “พระเจ้ากรุงธนบุรี”

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมีก๊กหรือชุมนุมต่างๆ ตั้งตัวแข็งข้อ แต่ด้วยความสามารถของพระเจ้ากรุงธนบุรี และแม่ทัพที่เข้มแข็ง ทำให้การปราบชุมนุมต่างๆ ประสบกับชัยชนะ ทำให้อาณาเขตของพระเจ้ากรุงธนบุรีกว้างขวางมากที่สุด

ปกหลัง

ชุมนุมที่คิดกบฏ ยึดอำนาจตั้งตนเป็นใหญ่ จุดจบ! คือ “ประหาร”

ยุคนั้นมีชุมนุมเจ้าพิมาย มีกรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นที่เมืองพิมาย เขตจังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน ชาวเมืองเรียก “เจ้าพิมาย” ปกครองด้านตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนเมืองสระบุรี ทิศเหนือจดแดนลานช้าง ตะวันออกจดแดนกัมพูชา นับว่าเป็นชุมนุมที่ใหญ่มาก

กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เคยมีความผิดฐานคิดกบฏต่อพระเจ้าเอกทัศน์ ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา แต่ได้กลับมาเกลี้ยกล่อมคนไทยช่วยรบพม่า แต่ก็ต้องพ่ายพม่า สุดท้ายหนีไปอยู่เมืองนครราชสีมา ได้กำจัดเจ้าเมืองนครราชสีมา และยึดอำนาจตั้งตนเป็นเจ้าเมือง ครั้นพวกพ้องของน้องพระยานครราชสีมา เจ้าเมืองพิมายเดิม ได้ทำการเกณฑ์คนมายึดอำนาจคืนได้สำเร็จ แต่ด้วยความที่สงสารกรมหมื่นเทพพิพิธ จึงได้นำตัวไปคุมขังที่เมืองพิมาย

หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยา พม่ากวาดต้อนผู้คนและเจ้านายในพระราชวงศ์ไปเมืองพม่า พระพิมายนับถือพระราชวงศ์มาก จึงยกกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นเจ้า ส่วน “พระพิมาย” ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” เป็นผู้สำเร็จบ้านเมือง ภายหลังนำกำลังลงไปกำจัดเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช และหัวเมืองต่างๆ ไว้ในอำนาจ กลายเป็นชุมนุมใหญ่หลังจากที่เสียกรุง

พ.ศ.2311 พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงบัญชาให้จัดทัพ 2 กองทัพ เป็นทัพของ พระมหามนตรี (บุญมา) และทัพ พระราชวรินทร์ (ทองด้วง) และพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นทัพหลวง มุ่งตรงไปโคราช เพื่อปราบชุมนุมเจ้าพิมาย ซึ่งมี กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นหัวหน้าชุมชุม

เจ้าพิมายนี้เคยเป็นเจ้าต่างกรมพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นผู้กราบทูลเจ้าฟ้ากุ้ง และมีเรื่องกับเจ้าฟ้าอุทุมพร จึงถูกเนรเทศไปอยู่เมืองลังกา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียให้กับพม่า จึงย้อนกลับมาอยู่พิมาย โดยมีอดีตเจ้าเมืองพิมายให้การสนับสนุนตั้งชุมนุม มี “มองย่า” ทหาร เข้าร่วมชุมนุมด้วย

การรบครั้งนี้ ฝ่ายของพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เปรียบเข้าสู้รบได้ชัยชนะและจับตัวแม่ทัพ พระยาศรีสุริยวงศ์ พระมหามนตรี และมองย่า ได้ แต่แม่ทัพทั้งสามไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จึงสั่งประหารชีวิตทั้งสามคน เว้นแต่ กรมหมื่นเทพพิพิธ หนีไปพึ่ง เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ที่เมืองเวียงจันทน์ พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงยึดเมืองได้

ขุนชนะ กรมการเมืองอาสาขอไปจับตัวกรมหมื่นเทพพิพิธมาถวาย เมื่อจับตัวมาถวายได้ ทรงหมายพระทัยจะให้ช่วยราชการ แต่กรมหมื่นเทพพิพิธไม่ยอมอ่อนน้อมให้ จึงตรัสสั่งให้ประหารชีวิต

เนื้อหาภายในเล่ม

เป็นความสัตย์แห่งข้า

ข้าทำความเพียร มิได้คิดแก่กายและชีวิต

ทั้งนี้จะปรารถนาสมบัติพัสถานอันใดหามิได้

ปรารถนาแต่จะให้สมถะชีพราหมณ์สัตว์โลกเป็นสุข

อย่าให้เบียดเบียนกัน ให้ตั้งอยู่ในธรรมปฎฏิบัติ เพื่อที่จะเป็นปัจจัยแก่โพธิญาณสิ่งเดียว

ถ้าแลผู้ใดอาจสามารถอยู่ในราชสมบัติ ให้สมณพราหมณ์ประชาราษฎรเป็นสุขได้

จะยกสมบัติทั้งนี้ให้แก่บุคคลผู้นั้น แล้วข้าจะไปสร้างสมณธรรมแต่ผู้เดียว

ถ้ามิฉะนั้นปรารถนาศีรศะและหทัยวัตถุ สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะให้แก่ผู้นั้น

พระราชดำรัสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ที่เมืองพุทไธมาศ เวลาบ่าย 3 โมงเศษ

วันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 5 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ.2314

 ข้อมูลที่กล่าวอ้างมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่คนไทยควรอ่าน! ที่เรายืนอยู่ได้อย่างสงบสุขบนผืนแผ่นดินไทย ก็ด้วยพระบารมีและพระพุทธคุณของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และเหล่าบรรพชนที่ได้สละเลือดเนื้อ ชีวิต และจิตวิญญาณ เพื่อรักษาชาติไทยให้คงอยู่มาจนทุกวันนี้

เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในยุคสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ “บันทึกจอมทัพ พระเจ้าตากสินมหาราช” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดีเอ็มจี