โรคหัวใจ (Heart disease) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่
กระทรวงสาธารณะสุขสำรวจพบว่าคนไทยมีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 จากโรคนี้
มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจทั่วโลกถึงปีละ 12,000,000 คนต่อปี
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ
ส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เมื่อหลอดเลือดอุดตัน มันก็ไม่สามารถที่จะสูบฉีดเลือด เพื่อส่งสารอาหารไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ และเมื่อกาลเวลาผ่านไป การอุดตันของเส้นเลือดก็ยิ่งเริ่มมีมากขึ้น จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจึงทำงานผิดปกติส่งผลถึงอวัยวะต่างๆขาดเลือดไปด้วย จึงมีอาการผิดปกติเบื้องต้นของหัวใจและร่างกายเกิดขึ้นมากมาย
อาการที่ควรระวังในการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
- มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ
- รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายๆ มีของหนักทับอยู่
- มีอาการหอบจนตัวโยน
- ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- เป็นลมหมดสติอยู่บ่อยๆ
- หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
- ขาหรือเท้าบวม โดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ แสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจ ห้องขวากับห้องซ้าย มีการเชื่อมต่ออย่างผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมปนเปของเลือดแดงกับเลือดดำ
อาการต่างๆเหล่านี้คุณควรหมั่นสังเกตุตนเองหากเกิดความผิดปกติของร่างกาย
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ควบคุมน้ำหนักตัว
- รักษาระดับไขมันในเลือด
- รักษาระดับความดันโลหิต
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง แต่หันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น
- ควรงดบุหรี่และสุรา
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและดูแลสุขภาพจิตของคุณให้ปกติ ไม่เครียด เพราะนอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจสมบูรณ์แข็งแรงแล้ว สุขภาพจิตและสุขภาพกายของคุณก็จะดีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน