วิกฤตฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยร้ายของคนไทย

1700
ฝุ่น PM 2.5

วิกฤตฝุ่นพิษ PM 2.5 ภัยร้ายของคนไทย

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศไทยจะมีการแก้ปัญหาฝุ่นละอองตลอดมา แต่การสร้างมลพิษกลับมากขึ้นทุกปี ที่สำคัญการไม่ตระหนักถึงผลร้ายที่ตามมา ทำให้เกิดฝุ่นพิษขนาดเล็ก หรือ ที่บางคนเรียกว่า ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกปีละ 7 ล้านในทุกๆปี จากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก (World Health Organization:WHO) ให้ข้อมูลAir Pollution and Health ว่ามลพิษทางอากาศทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 7 ล้านคนต่อปี ในปี 2016 มลพิษทางอากาศทำให้คนเสียชีวิตมากถึง 4.2 ล้านคน เฉพาะมลพิษทางอากาศจากการหุงหาอาหารในครัว เรือน การเผาไหม้เชื้อเพลิง และเทคโนโลยี่มีผลทำให้คนเสียชีวิตถึง 3.8 ล้านคนในปีเดียวกัน

ประชากร 9 ใน 10 หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษสูงเข้าในร่างกาย เช่น ผงฝุ่นเขม่าดำ หรือ Black carbon ที่เข้าไปเกาะลึกในปอดและระบบหัวใจและหลอดเลือด ( Black carbon คือ อนุภาคหรือผงเขม่าที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ต่างๆ อันได้แก่ การเผาเศษวัสดุชีวมวลจำพวกเศษวัชพืชและต้นไม้ หรือ Biomass burning) การเผาเชื้อเพลิงแข็ง เช่น ถ่าน ไม้ ฟืน เพื่อการประกอบอาหารหรือกิจกรรมอื่นๆ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ หรือ Engine combustion โดยเฉพาะไอเสียการจากเผาไหม้ของน้ำมันดีเซล เป็นต้น)

ฝุ่นพิษ PM2.5 ร้ายกาจแค่ไหน

รู้จักฝุ่น PM 2.5

สภาพอากาศฝุ่น PM 2.5

Particulate matter with diameter of less than 2.5 micron หรือชื่อย่อ ฝุ่น PM2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ไม่มีกลิ่นเมื่อสูดดมเข้าไป จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทะลุเข้าสู่ถุงลมปอดทันที หรือหากสูดดมมากและเป็นเวลายาวนานจะก่อเกิดอาการระคายคอ แน่นหน้าอก หลอดลมอักเสบ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง หรืออาจจะกลายเป็นมะเร็งปอด ส่วนการแพร่กระจายฝุ่นพิษ PM 2.5 สามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นหลายสัปดาห์ และลอยไปไกลจากแหล่งกำเนิดประมาณ 100 กิโลเมตรหรือ 1,000 กิโลเมตรได้เลยทีเดียว ซึ่งจะเกิดมากในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปี บริเวณความกดอากาศสูง พูดกันง่ายๆ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดในเมืองไทยก็เจอฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้ไม่มากก็น้อย

ข้อมูลและภาพประกอบ กรมควบคุมมลพิษและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต้นเหตุฝุ่นพิษ PM 2.5

กำเนิด PM 2.5

ข้อมูลและภาพประกอบจาก สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม http://www.iie.or.th/iie2016/images/postdoc/files/2.%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8.pdf

สถิติฝุ่นพิษ PM 2.5 ในประเทศไทย

สถิติฝุ่น PM 2.5

ข้อมูลและภาพประกอบ https://www.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/Chula-PM25.pdf

พื้นที่โซนอันตรายจากฝุ่นพิษ PM 2.5

พื้นที่โซนอันตรายฝุ่น PM 2.5

พื้นที่โซนอันตรายฝุ่น PM 2.5_2

ข้อมูลและภาพประกอบจาก สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม http://www.iie.or.th/iie2016/images/postdoc/files/2.%20%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8.pdf

แอพพลิเคชั่นเช็คสภาพอากาศ

Air Quality: Real time AQI

Air Quality

Air Quality_2

แอพพลิเคชั่นรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศมากกว่า 10,000 แห่งใน 60 ประเทศทั่วโลก สามารถเช็คได้ว่าพื้นที่ที่เราอยู่สภาพอากาศปกติ หรือมีมลพิษเกินมาตรฐานจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ จะโชว์ให้เห็นเป็นสีๆ โดยสีแดงจะอยู่ในระดับอันตราย ส่วนสีฟ้าและเขียวไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

Air4Thai

Air4Thai

Air4Thai_2

แอพพลิเคชั่น air4thai เป็นของคนไทยโดย กรมควบคุมมลพิษ (Pollution Control Department) รายงานดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย โดยรายงานข้อมูลรายชั่วโมง(สำหรับบางสถานี) และข้อมูลรายวัน กราฟคุณภาพอากาศย้อนหลัง 7 วัน พร้อมแผนที่แสดงโดยเป็นข้อมูลจากสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ