เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้

4456
เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้
เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้

เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้

เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้
เมื่อยังผ่อนคอนโดไม่หมด แต่อยากจะขายปลดหนี้

หลายคนอาจจะมีความกังวลหลังจากที่ทำการผ่อนคอนโดไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ด้วยปัญหาต่างๆ ที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องย้ายที่อยู่กะทันหัน หรืออาจต้องการขายเพื่อนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นแทน ทำให้ไม่สามารถผ่อนคอนโดนี้ได้อีกต่อไป ซึ่งจริงๆ แล้วคุณสามารถทำการขายต่อได้ โดยขอแนะนำดังต่อไปนี้ค่ะ

หากคุณยังหาลูกค้าที่จะมาซื้อต่อคอนโดของคุณไม่ได้ วิธีที่จะช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ได้ คือการ Re-Finance (รีไฟแนนซ์) หากใครที่ยังสงสัยว่า Re-Finance คืออะไร ขออธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ การขอสินเชื่อจากธนาคารใหม่ เพื่อปิดหนี้ของสินเชื่อเดิม ทำให้ได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลง ผ่อนหมดเร็วขึ้น

ขั้นต่อไปคือการหาผู้ซื้อ อาจจะใช้วิธีการจ้างนายหน้าในการหา เพราะนายหน้าจะมีช่องทางในการโฆษณา และมีฐานลูกค้าเดิมที่มีความต้องการอยากได้คอนโดในทำเลของเรา

สิ่งที่ต้องทำหลังจากหาผู้ซื้อได้แล้วนั้น
1. ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อ โดยการทำสัญญานี้มีผลกับผู้ซื้ออย่างมากเพราะว่าผู้ซื้อจะนำสัญญานี้ไปยื่นกู้กับธนาคารมาจ่ายค่าคอนโดที่จะขายในกรณีที่ผู้ซื้อต้องการกู้ธนาคารเช่นกัน ซึ่งในสัญญาจะซื้อจะขายจะกำหนดข้อตกลงต่าง ๆ เอาไว้
2. หลังจากที่ผู้ซื้อทำเรื่องกู้กับธนาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการนัดผู้ซื้อไปกรมที่ดินเพื่อนัดจดทะเบียนนิติกรรม ในการจดทะเบียนนิติกรรมนี้ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องนัดเจ้าหน้าที่ธนาคารที่เป็นผู้ให้กู้มาให้พร้อมกัน เพราะในวันนั้นจะมีขั้นตอนดังนี้
2.1 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองห้องชุด การจดทะเบียนนี้เพื่อให้ธนาคารที่เป็นผู้รับจำนองคอนโด ไถ่ถอนห้องชุดนั้นๆให้กับผู้ขาย โดยค่าธรรมเนียมกับกรมที่ดินอยู่ที่ 5 บาท
2.2 จดทะเบียนขายห้องชุด การจดทะเบียนนี้เป็นการจดทะเบียนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ว่าผู้ขายได้ขายห้องชุดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งค่าธรรมเนียมในการขายห้องชุดนั้นจะอยู่ที่ร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์ของห้องชุด แต่ในกรณีที่ผู้ขายซื้อคอนโดมาไม่ถึง 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี จะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีกร้อยละ 3.3 จากราคาประเมิน ถ้าเสียภาษีนี้แล้วไม่ต้องเสียค่าอากร 0.5%
2.3 จดทะเบียนจำนองห้องชุด การจดทะเบียนนี้จะเป็นการจดทะเบียนระหว่างผู้ซื้อกับธนาคารที่รับจำนอง โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของผู้ซื้ออย่างเดียว

ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด

  1. เริ่มจากค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายต้องเสียให้กับธนาคารที่รับจำนอง เพราะการ ขายคอนโดผ่อนไม่หมดนั้น กรรมสิทธิ์ในการถือครองยังเป็นของธนาคารอยู่ ผู้ขายจำเป็นต้องติดต่อธนาคารและสอบถามค่าใช้จ่ายในการขายคอนโดว่ามีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นก็มี ค่าปิดบัญชี ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนก่อนครบกำหนด เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราสามารถเข้าไปต่อรองและพูดคุยกับธนาคารก่อนได้
    2. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการขาย ร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์
    3. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ โดยภาษีธุรกิจเฉพาะนี้จะเสียเฉพาะคนที่ซื้อคอนโดหรืออสังหาริมทรัพย์มาไม่เกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านน้อยกว่า 1 ปี ถ้ามีการเสียภาษีนี้แล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีอากรร้อย 0.5 อีก
    4. ค่าภาษีอากรร้อยละ 0.5 ของราคาซื้อขาย ซึ่งแน่นอนว่าการเสียภาษีอากรจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับราคาที่ซื้อขายกันหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแจ้งราคาขายให้ต่ำเท่ากับราคาประเมิน ซึ่งจะส่งผลให้เสียค่าภาษีอากรน้อยลงไปด้วย
    5. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีส่วนนี้จะเสียมากเสียน้อยก็ขึ้นอยู่กับราคาซื้อขายเช่นกัน
    6. ค่าจดจำนอง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อ
    7. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ค่าใช้จ่ายจำพวกนี้จะเกิดขึ้นระหว่างดำเนินการซื้อขายคอนโด อาทิเช่น ค่าประกันมาตรวัดไฟฟ้า ค่าประกันโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่ากองทุนส่วนกลาง ค่าประกันมิเตอร์น้ำ เป็นต้น

หากคุณมีเรื่องราวไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจ ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ในเวบไซต์ Alive Around ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทเทรนด์แฟชั่น ความงาม ร้านอาหาร คาเฟ่สุดชิค แหล่งท่องเที่ยว หรือสถานที่แฮงค์เอ้าท์สุดคูล เทรนด์การตกแต่งบ้าน งานศิลปะ การออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือแม้แต่ข่าวสาร และเกร็ดความรู้ในวงการอสังหาริมทรัพย์ งานอีเว้นท์ เทคโนโลยี แก็ดเจ็ตใหม่ล่าสุด ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สามารถติดต่อกับทีม Admin ของเราได้ที่ www.alivearound.com โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น