วันนี้ 27 มีนาคม 2567 สภาผ่านร่าง กฎหมายสมรสเท่าเทียม 2567 แล้ว ซึ่งที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 ด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 3 เสียง
โดยขั้นตอนหลังจากนี้ สภาจะส่งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ให้วุฒิสภาพิจารณาในวาระ 2-3 หากได้รับความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้ต่อไป
รู้จัก กฎหมายสมรสเท่าเทียม 2567
ตามที่ หอสมุดรัฐสภา ได้ให้ข้อมูลไว้ กฎหมายสมรสเท่าเทียม 2567 คือ การสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตามไลฟ์สไตล์ ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นแต่จะครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
โดยจะก่อให้เกิดสิทธิในการหมั้น การจดทะเบียนสมรส การจัดการรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับคู่สมรส การรับมรดกเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต การรับบุตรบุญธรรม การรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
รวมทั้งได้รับสิทธิประโยชน์การเบิกจ่ายสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น การรับประโยชน์ทตแทนจากประกันสังคม และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิอื่น ๆ ทางกฎหมายที่รับรองสิทธิของคู่สมรส
กฎหมายสมรสเท่าเทียม คือ อัปเดตล่าสุด
สมรสเท่าเทียม คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศ ซึ่ง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เคยเป็นร่างกฎหมายที่พรรคก้าวไกลยื่นร่างต่อสภาฯ ในปี พ.ศ.2563 ก่อนที่จะผ่านวาระแรกพร้อมกับร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ
เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ในการสมรส จดทะเบียนสมรส และใช้ชีวิตคู่เป็นคู่สมรส ไม่ว่าบุคคลเพศสภาพใดเมื่อสมรสกัน ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่กฎหมายรองรับ โดยไม่จำเป็นว่าคู่สมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงเท่านั้น ทำให้มีการร่างข้อกฎหมายที่แก้ไขถ้อยคำระบุรายละเอียดให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
ประโยชน์ของ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
หาก พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผ่านมติสภาฯ และการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ ในทุกวาระ และถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในไทย “สมรสเท่าเทียม” จะมีประโยชน์ในการมอบสิทธิและความเท่าเทียมให้แก่ทุกเพศ
เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายยังยอมรับการสมรสเฉพาะแค่เพศชาย-หญิง เท่านั้น แต่หากมีการผ่าน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ไม่ว่าจะเพศสภาพใด ก็สามารถสมรส จดทะเบียนสมรส และเข้าถึงสวัสดิการจากรัฐที่เป็นประโยชน์ได้ ยกตัวอย่าง ดังนี้
- บุคคลไม่ว่าจะมีเพศสภาพ หรือมีอัตลักษณ์ทางเพศอย่างไร เมื่อจดทะเบียนสมรสกันก็ถือเป็น “คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย”
- “คู่สมรส” จะไม่จำกัดเฉพาะชาย-หญิง เท่านั้น แต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ
- ใช้ถ้อยคำที่เป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น สามี-ภรรยา ปรับเป็น “คู่สมรส”, ชาย-หญิง ปรับเป็น “บุคคล”, บิดา-มารดา ปรับเป็น “บุพการี”
- ทุกบุคคลจะได้รับความเท่าเทียม และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย ตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิในการหมั้น, สิทธิจดทะเบียนสมรส, สิทธิจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส, สิทธิเป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับสามี-ภรรยา, สิทธิรับมรดกหากอีกฝ่ายเสียชีวิต, สิทธิรับบุตรบุญธรรม, สิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม, สิทธิเซ็นยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย, สิทธิจัดการศพ เป็นต้น
- ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม, สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
- คู่สมรสสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ และให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ โดยจะต้องมีอายุแก่กว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
- มีการปรับอายุขั้นต่ำของบุคคล ในการจดทะเบียนสมรส จากเดิม 17 ปี ขึ้นเป็น 18 ปี เพื่อสอดคล้องกับอนุสัญญาสิทธิเด็ก (หากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม)
สถานะทางเพศ คือ
สถานะทางเพศ หมายถึง ลักษณะในเชิงสังคมและจิตวิทยาที่ใช้เป็นพื้นฐานในการแบ่งแยกกลุ่มมนุษย์ว่า เป็นหญิง (Feminine) เป็นชาย (Masculine) หรือเป็นหญิงชาย (Androgens) สถานะทางเพศแบ่งเป็น
เพศวิถี (Scxual Orientation) คือ ความรู้สึกรสนิยมทางเพศ รวมถึงความพอใจทางเพศที่มีต่อบุคคลอื่น
อัตลักษณ์ทางเพศ (Cinder Identify) คือ การรับรู้ว่าตนเองต้องการเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิงซึ่งบางคนมีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับอวัยวะเพศ และโครงสร้างทางร่างกาย แ
อัตลักษณ์ทางเพศแตกต่างจากโครงสร้างทางร่างกายเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “คนข้ามเพศ” (Transgender) โดยคนข้ามเพศอาจเป็นผู้ที่ไม่สามารถกำหนดให้ตนเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงเพียงเพศใดเพศหนึ่งได้ด้วยคนกลุ่มนี้มีชื่อเรียกตามเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ
ได้แก่ เกย์ (Gay) เลสเบี้ยน (Lesbian) คนรักสองเพศ (Bisexual) คนข้ามเพศ (Intersex) และคนมีเพศกำกวม (Queer)
ความหลากหลายทางเพศเหล่านี้จึงมิได้บ่งชี้เฉพาะเพศกำเนิดเท่านั้น หากแต่แสดงให้เห็นว่าคนกลุ่มนี้ยังมีปฏิสัมพันธ์ในมิติอื่น ๆ เช่น ความรัก ความสัมพันธ์ทางกาย ความต้องการการยอมรับ
เพื่อให้มีพื้นที่การแสดงออกในรูปแบบของความสัมพันธ์ที่ต้องได้รับการยอมรับทางกฎหมายและสังคม จึงนำมาสู่การเรียกร้องให้ได้รับความเสมอภาคตามหลักสิทธิมนุษยชนและการเกิดสิทธิตามกฎหมายเสมือนคนรักต่างเพศชายและหญิงหรือที่รับทราบกันโดยทั่วไป คือ สมรสเท่าเทียม
อ่านบทความเพิ่มเติมที่ AliveAround