เปรียบเทียบธุรกิจโชห่วย

1750
เปรียบเทียบธุรกิจโชห่วย

ปัจจุบันร้านค้า ร้านสะดวกซื้อนั้นมีอยู่มากมายเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ไม่ว่าจะเป็น 7-Eleven, Lotus, Big C, CJ ที่ทำให้เราสะดวกซื้อกันเป็นอย่างมาก แต่เคยสงสัยไหมครับว่า แล้วร้านโชห่วยจะอยู่ได้อย่างไร จะสู้กับร้านสะดวกซื้อที่มีมาตรฐาน ติดแอร์เย็นๆ สบายๆ หรือโปรโมชั่นที่มีพร้อมให้ลูกค้าเสมอ วันนี้เราจะมาลองดูกันครับว่าธุรกิจโชห่วยนั้น จะรอดและมีอะไรแปลกใหม่ที่น่าสนใจ และเสริมความมั่นคงให้กับผู้ประกอบการโชห่วยอย่างไรได้บ้าง

ธุรกิจโชห่วยจะอยู่ได้อย่างไร

ในธุรกิจโชห่วยนั้นก็ถือว่ายังเป็นสิ่งสำคัญและเป็นฐานลูกค้าที่จะปล่อยผ่าน ไม่สนใจไม่ได้ เพราะว่าร้านโชห่วยบางที่มักจะอยู่ในซอย อยู่ในอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ลึกมากเกินกว่ากลุ่มร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-Eleven จะเข้าไป ทำให้ธุรกิจโชห่วยยังอยู่ได้อย่างยั่งยืนและถาวร ไม่เกรงกลัวเจ้าใหญ่ๆ รวมถึงการจำหน่ายสุรา บุหรี่ ที่สร้างรายได้ให้กับร้านโชห่วยได้อย่างดี

ธุรกิจโชห่วย

ร้านโชห่วยที่แบรนด์ใหญ่ๆ เข้ามามีส่วนร่วม

ไม่ว่าจะเป็น CP, Big C, CJ ที่ลงมาให้ความสำคัญกับธุรกิจโชห่วยเป็นอย่างมากซึ่งวันนี้เราจะมาลองดูกันครับว่าแต่ละเจ้ามีกลยุทธ และบริการอย่างไรบ้างที่จะลงมาในธุรกิจนี้ อย่างเต็มตัว

ร้านถูกดีมีมาตรฐาน

ร้านถูกดีมีมาตรฐาน ของ CJ หรือ คาราบาวกรุ๊ป

กลุ่มลูกค้า : เป็นลูกค้าที่มีร้านอยู่แล้ว ต้องการที่จะสื่อสารในส่วนของ Pain Point ของร้านค้า พลิกชีวิตร้านค้าผู้ประกอบการ ให้ขายดียิ่งขึ้น

จุดแข็ง : เน้นการลงทุนเปิดร้าน ลงทุนแบบไม่มีความเสี่ยง เน้นลงทุนให้ กำไร ใช้สูตรการแบ่งกำไรจากยอดขายเป็น เจ้าของร้านได้ 85 / ถูกดีได้ 15 มีการคัดกรองร้านค้าในการพิจารณาใช้แบรนด์ มีตัวแทนอยู่ทั่วประเทศ

บริการอื่นๆ : มีการอบรมทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ มีอุปกรณ์ทั้งตู้เย็น ตู้แช่ ชั้น และเครื่อง POS ที่ไว้ใช้คิดเงิน อย่างมีระบบ บริการส่งสินค้าให้ที่ร้านไม่ต้องเดินทางไปซื้อเอง แบกเอง

Link Website ร้านถูกดีมีมาตรฐาน

ร้านโดนใจ

ร้านโดนใจ ของ Big C

กลุ่มลูกค้า : ลูกค้าเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ ที่มีร้านอยู่แล้ว และยังไม่มีร้าน สนใจจะลงทุน และสนใจที่จะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่าซื้อที่ห้างแบบปกติ พัฒนาโชห่วย ยกระดับร้านค้าทั่วประเทศไทย

จุดแข็ง : ตกแต่งร้านฟรี ลงทุนอุปกรณ์ในร้านให้หมด และไม่คิดส่วนแบ่งยอดขาย ร้านค้าได้กำไรเต็มจำนวน มีบริการส่งสินค้าถึงที่ร้าน ค่าบริการเดือนละ 5 พัน

บริการอื่นๆ : มีอุปกรณ์ทั้งตู้เย็น ตู้แช่ ชั้น และเครื่อง POS ที่ไว้ใช้คิดเงิน อย่างมีระบบ บริการส่งสินค้าให้ที่ร้านไม่ต้องเดินทางไปซื้อเอง แบกเอง

Link Website donjai.in.th

ร้านนี้ขายดี

ร้านนี้ขายดี ของ Lotus

กลุ่มลูกค้า : เป็นกลุ่มที่เชื่อถือในแบรนด์ Lotus, 7-Eleven, CP ที่มีบริการครบถ้วน

จุดแข็ง : เน้นเรื่องการขนส่ง มีของสดใหม่ สม่ำเสมอ มีบริการครบครัน ทั้งร้านกาแฟ ร้านขายโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้นทุนสินค้าแข่งขันได้ ไม่คิดค่าบริการรายเดือน โลตัสทำการตลาดให้ แต่ว่า Lotus ยังเริ่มทำการตลาดยังน้อย ข้อมูลค่อนข้างน้อย รวมถึงสาขาที่มีเพียงไม่กี่สาขา

บริการอื่นๆ : มีการอบรมทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ มีอุปกรณ์ทั้งตู้เย็น ตู้แช่ ชั้น และเครื่อง POS ที่ไว้ใช้คิดเงิน อย่างมีระบบ บริการส่งสินค้าให้ที่ร้านไม่ต้องเดินทางไปซื้อเอง แบกเอง

บัดดี้มาร์ท ของ แม็คโคร

บัดดี้มาร์ท ของ แม็คโคร
สโลแกน “ครบ คุ้ม เพื่อนคู่ใจชุมชน”

กลุ่มลูกค้า : กลุ่มธุรกิจโชห่วยที่มีความเชื่อมันในคุณภาพสินค้าและบริการของแม็คโครที่มีมานานมากกว่า 30 ปีในธุรกิจนี้

จุดแข็ง : มีกองทุนร่วมกับธนาคากรุงเทพ ในการปล่อยสินเชื่อในการเปิดร้านดอกเบี้ยต่ำ* มีเทคโนโลยีทันสมัยสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็กมาใช้ รวมถึงใช้ความชำนาญในการบริหารจัดการสต๊อก ระบบการสั่งซื้อสินค้าและจัดส่งถึงร้านที่รวดเร็ว ที่สำคัญมีกลุ่มพันธมิตรซัพพลายเออร์สินค้าที่แข็งแกร่ง จะเห็นได้ว่าแม็คโครเป็นธุรกิจที่ตอนโควิดแทบจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะว่าคนจะมาซื้อของที่ macro เป็นส่วนมาก

บริการอื่นๆ : มีบริการตู้กดเงิน, บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ

Link website : https://www.buddymartstore.com/

เห็นไหมครับว่าจุดแข็งของแต่ละแบรนด์นั้นต่างกันไม่มาก สำหรับผมคิดว่าการเลือกธุรกิจโชห่วยแต่ละเจ้า ต้องดูเงื่อนไขดีๆ ที่เหมาะกับเราเหมาะกับชุมชน ที่เราจะสร้างร้านโชห่วยให้มั่นคง สร้างเสริมรายได้ที่ดีขึ้น พัฒนาชุมชนแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นครับ